ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-355313, 052-000529 แฟกซ์ : 053-355313, 052-000529 ต่อ 18

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ปลัด







ไลน์

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

1212



ศูนย์ดำรงธรรม

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 01/03/2564
วันนี้
214
เมื่อวานนี้
446
เดือนนี้
776
เดือนที่แล้ว
12,041
ปีนี้
66,970
ปีที่แล้ว
38,557
ทั้งหมด
126,437
ไอพี ของคุณ
44.201.72.250


คำถามที่พบบ่อย
สำนักปลัด

คำถามที่พบบ่อย
คำถาม: อัตราค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการขยะและจำนวนถุงขยะที่จะมีสิทธิซื้อในแต่ละครั้ง
คำตอบ:
ค่าบริการ (บาท)
จำนวนถุงขยะ (ถุง)
20
4
30
6
40
8
50
10
60
12
70
14
80
16
90
18
100
20
150
30
200
40
300
60
400
80
500
100
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
**หมายเหตุ**
กรณีมีงานพิเศษในหมู่บ้าน งานบุญ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานปอยหลวง งานศพ งานอื่นๆ เป็นต้น
คำถาม : ตารางการเก็บขยะของแต่ละหมู่บ้าน
คำตอบ :
วัน
เส้นทาง – หมู่บ้าน
วันอังคาร
- เริ่มต้น บ.โตโยต้า จัดเก็บ รอบถนน 108 ของพื้นที่ต่อด้วย หมู่ที่ 2 , 3 , 4
(ป่าตัน) , 5 , 6 , 9 (เส้นนอก)
วันพฤหัสบดี
- บ้านหนองเขียวหมู่ที่ 8 , ชุมชนเคหะสันป่าตอง , บ้านท่ารวมใจหมู่ที่ 7
วันศุกร์
- หมู่บ้านจัดสรรทองกวาว , บ้านป่าบง หมู่ที่ 8 , บ้านทุ่งอ้อหมู่ที่ 1
วันเสาร์
- เริ่มต้น บ.โตโยต้า จัดเก็บ รอบถนน 108 ของพื้นที่ต่อ
ด้วย หมู่ที่ 2 (อบต), 3 , 4 (ป่าตัน) , 5 , 6 , 9(เส้นนอก-เส้นบน)
** หมายเหตุ **
หากมีการเปลี่ยนแปลง ที่นอกเหนือจากตารางกำหนดการ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางจะแจ้งให้ทราบ
 
กองคลัง
 
     1.การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเริ่มจัดเก็บเมื่อไหร่ครับ
ตอบ     เริ่มเก็บในปีงบประมาณ 2563 โดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูล เดือน พ.ย.2562 ถึง พฤษภาคม 2563  ประเมิน มิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2563  และเริ่มจัดเก็บภาษี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
 
     2.อัตราการจัดเก็บภาษีแบบใหม่จะจัดเก็บอย่างไรบ้าง
ตอบ   1) ฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
          2) วิธีการคำนวณภาระภาษี
               2.1) กรณีที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน)
               2.2) กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน) มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา)
               2.3) กรณีห้องชุด ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี (มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่ ห้องชุด)
          3) ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด และอัตราค่าเสื่อมราคากำหนดโดยคณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ประจำจังหวัดและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินและคณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐประจำจังหวัดตามพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ แห่งรัฐ พ.ศ. 2562


     3.ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินของตัวเองได้ที่ไหนบ้างค่ะ
ตอบ    ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมธนารักษ์ โดยที่ดินทุกแปลงทั่วไทยที่มีการใช้ประโยชน์สามารถทราบราคาประเมินได้ทั้งหมด


     4.การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคาดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ตอบ   1) ลดความเหลื่อมล้ำผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีภาระต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมและช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมถึงยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน
          2) เพิ่มประสิทธิภาพ
               2.1) ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินภาษี
               2.2) กระตุ้นให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
          3) เพิ่มรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่จะนำไปใช้ในการลงทุนและจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น
          4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่มีการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีการเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมถึงติดตามการใช้จ่ายเงินภาษีซึ่งจัดเก็บจากประชาชนในพื้นที่ไปพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของประชาชนหรือไม่
 
     5.หากไม่เห็นด้วยกับการประเมินราคาหรือการใช้ประโยชน์ทำอย่างไร
ตอบ     สามารถยื่นคัดค้านได้ 3 ครั้ง ครั้งแรกยื่นคำร้องภายใน 30 วันหลังจาก อปท. ส่งแบบประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษี หากยังไม่พอใจ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีกครั้งภายใน 30 วัน และหากยังไม่พอใจในผลตอบรับ สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม ระหว่างขั้นตอนทั้งหมด หากถึงกำหนดชำระภาษีแล้วต้องเสียภาษีเต็มจำนวนไปก่อน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าภาษี ที่ต้องชำระในภายหลังและผู้เสียภาษีมีการชำระเกินไปก่อนแล้ว จะได้เงินส่วนต่างคืนพร้อมดอกเบี้ย 1%
 
     6.หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุและการจ้าง มีอย่างไร
ตอบ     ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 หมวด 6 ข้อ 175 , 176
               ข้อ 175  คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อหรืองานจ้าง มีหน้าที่ดังนี้
               (1)  ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐก่อน
               (2)  ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาหรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้ ในกรณีจำเป็นไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
               (3)  ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด
               (4)  เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้ และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับมอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่ 1 ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบของหน่วยงานของรัฐและรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อทราบและสั่งการ
               (5)  ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วนตามจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมดถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (4) ละให้รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการนับถัดจากวันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์หน่วยงานของรัฐที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือวันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์หน่วยงานของรัฐที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องนั้น
               (6)  การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับถัดจากวันที่ตรวจพบให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับถัดจากวันที่ตรวจพบ
               (7) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณีถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณี
               ข้อ 176  คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานก่อสร้าง มีหน้าที่ดังนี้
               (1)  ตรวจสอบคุณวุฒิของผู้ควบคุมงานก่อสร้างของผู้รับจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
               (2)  ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานของหน่วยงานของรัฐรายงานโดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง ทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงาน แล้วรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไปโดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง ทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงาน แล้วรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
               (3)  ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้นๆ ตามเวลาที่เหมาะสม และเห็นสมควรและจัดทำบันทึก ผลการออกตรวจงานนั้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วย  
               (4) นอกจากการดำเนินการตาม (1) และ (2) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือมีข้อตกลงมีข้อความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการช่างให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือมีข้อตกลงมีข้อความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการช่างให้มีหรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาการช่างให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่าง และตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด 
               (5) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุดและให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
               (6)  เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมด หรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน อย่างน้อย  2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่  1 ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบของหน่วยงานของรัฐและรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน อย่างน้อย  2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่ 1 ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบของหน่วยงานของรัฐและรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ ในกรณีที่กรรมการตรวจรับพัสดุเห็นว่า ผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามรูปรายการละเอียด
และข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อทราบและสั่งการ แล้วแต่กรณีและข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อทราบและสั่งการแล้วแต่กรณี
               (7) ในกรณีที่กรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับงาน  โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
                    เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (6)
                    เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้จึงดำเนินการตาม (6)
 
     7. การเบิกจ่ายเงินของ อบต.ทำอย่างไรบ้าง
ตอบ  การเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 1 – 4) พ.ศ.2547-2561 และตามหนังสือ ที่ มท 0808.4/ว685 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 โดยมีวิธีการ ขั้นตอน และเอกสารประกอบการเบิกจ่ายดังนี้
          1.เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามข้อบัญญัติ หรือหากมีค่าใช้จ่ายประจำที่จะต้องเบิกจ่ายให้หัวหน้างหน่วยงานเจ้าของงบประมาณวางฎีกาเบิกจ่ายเงินกับ หน่วย งานคลัง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและนำเสนอต่อผู้บริหารอนุมัติ เบิกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์รับเงิน
          2.เอกสารประกอบฎีกาเบิกจ่ายตามงบประมาณรายจ่าย
               2.1 กรณีเงินเดือน ค่าจ้างประจำ เงินประจำตำแหน่ง มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
                    1) บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับเงิน พร้อมบันทึกขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน
                    2) เงินบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จรายเดือน เดือนแรกของงบประมาณ ให้แนบหนังสือคำสั่งจ่ายหรือหลักฐานอื่นใดระบุให้จ่ายเงิน
                    3) กรณีเบิกเงินเดือนแรกของปีงบประมาณให้แนบคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนประกอบด้วย
                    4) กรณีปรับวุฒิ หรือเลื่อนระดับแนบคำสั่งปรับวุฒิ หรือคำสั่งเลื่อนระดับประกอบตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง
               2.2 กรณีค่าสาธารณูปโภค ให้มีเอกสารประกองฎีกา ดังนี้
                    1) .ใบแจ้งหนี้ พร้อมบันทึกขออนุมัติ
                    2) หลักฐานการนำส่ง เช่น ใบนำไปรษณีย์
                    3) กรณีจ่ายเงินทดรองไปก่อนให้ใช้ใบเสร็จรับเงินแนบด้วย
               2.3 กรณีเงินสวัสดิการประเภทค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ค่าเช่าบ้านให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
                    1) ใบเบิกเงินสวัสดิการแต่ละประเภท เช่น เบิกค่าเช่าบ้าน แบบ 6005  เบิกค่ารักษาพยาบาล แบบ 7131 เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร แบบ กบ.1
                    2) ใบเสร็จรับเงิน พร้อมบันทึกขออนุมัติเบิก
               2.4 กรณีเป็นเงินประเภทค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการ ให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
                    1) หนังสืออนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ บันทึกขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน
                    2) คำสั่งแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
                    3) บัญชีเวลาการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
                    4) หลักฐานการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
               2.5 กรณีเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
                    1) หนังสือหรือคำสั่งให้เดินทางไปราชการ
                    2) รายงานการเดินทางไปราชการ
                    3) หลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรบเงิน ใบ folio ตั๋วเครื่องบิน ใบรังรองแทนใบเสร็จรับเงิน
                    4) งบหน้าค่าเบี้ยงเลี้ยง และค่าเช่านที่พัก งบหน้าค่าพาหนะ ตามแบบ บก 8708  บก 111
               2.6 กรณีซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
                    1) เอกสารประกอบฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าจัดซื้อ
                         1.1 .ใบตรวจรับพัสดุ
                         1.2 ใบส่งของ
                         1.3 ใบสั่งซื้อ (กรณีซื้อไม่ถึง 10000 บาท/ บันทึกตกลงการซื้อ  กรณีซื้อเกิน 10000
                         1.4 บันทึกรายงานขอซื้อขอจ้าง
                         1.5 บันทึกข้อความ ขออนุมัติดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
                         1.6 บัญชีแสดงปริมาณวัสดุ - ราคา
                         1.7 คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจรับพัสดุ (กรณีซื้อไม่ถึง 100000 บาท) / คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (กรณีซื้อเกิน 100000 บาท
                         1.8 ใบเสนอราคา 3 ราย (กรณีไม่เคยซื้อมาเกิน 2 ปีงบประมาณ)
                         1.9 สำเนาโครงการ (กรณีเป็นการจ่ายเงินตามโครงการ)
                    2) เอกสารประกอบฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าจัดจ้าง ประกอบด้วย
                         1.1 ใบตรวจรับพัสดุ (ใบตรวจรับงานจ้างใช้ในกรณีงานก่อสร้างหรืองานซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง)โดยต้องตรวจให้แล้วเสร็จตามระเบียบภายใน 3 วัน
                         1.2 ใบส่งมอบงาน
                         1.3 บันทึกตกลงการจ้าง (กรณีจ้างให้ทำบันทึกตกลงการจ้างทุกกรณี ติดอากร 1000 ละ1 บาท ถ้าไม่ถึง 1000 บาท ให้ติด 1 บาท
                         1.4 สัญญาจ้าง
                         1.5 บันทึกขออนุมัติดำเนินการ  และบันทึกรายงานขอซื้อขอจ้าง
                         1.6 บัญชีแสดงปริมาณวัสดุ - ราคา
                         1.7 คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจงานจ้าง (กรณีจ้างไม่ถึง 100000 บาท /คณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง(กรณีจ้างเกิน 100000 บาท
                         1.8 ใบเสนอราคา 3 ราย (กรณีไม่เคยจ้างมาเกิน 2 ปีงบประมาณ)
                         1.9 สำเนาโครงการ (กรณีเป็นการใช้จ่ายเงินตามโครงการ)
               2.7 กรณีเป็นเงินค่าตอบแทนวิทยากร (กรณีจัดการฝึกอบรม) ประกอบด้วย
                    1.ใบสำคัญรับเงิน
                    2.สำเนาบัตรประจำตัววิทยากรผู้รับเงิน /ประวัติการทำงาน
                    3.หนังสือเชิญวิทยกร
                    4.ตารางการอบรม
                    5.บันทึกข้อความ ขออนุมัติค่าใช้จ่าย
                    6.สำเนาโครงการ
               2.8 กรณีเบิกเงินค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ประกอบด้วย
                    1.ใบตรวจรับการจ้าง
                    2.ใบส่งของ
                    3.ใบสั่งจ้าง (กรณีจ้างไม่ถึง 10000 บาท) / บันทึกตกลงการจ้าง (กรณีจ้างเกิน 10000 บาท)
                    4.บันทึกรายงานขอซื้อขอจ้าง
                    5.บันทึกข้อความ ขออนุมัติเบิกค่าใช้จ่าย
                    6.คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจรับพัสดุ (กรณีซื้อไม่ถึง 10000 บาท )/ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (กรณีซื้อเกิน 10000 บาท)
                    7.บัญชีรายชื่อ พร้อมลายมือชื่อผู้เข้ารับการอบรม พร้อมหนังสือเชิญเข้าร่วมอบรม
 
กองช่าง

     ถาม : การขออนุญาตก่อสร้างอาคารสามารถถอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ไหนบ้างค่ะ
     ตอบ : สามารถติดต่อได้ที่กองช่างโดยตรง หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นโทร 053-355131 ต่อ 14
     ถาม : มีแบบบ้านไว้บริการประชาชนหรือไม่
     ตอบ : มีค่ะ สามารถขอดูแบบบ้านได้ที่สำนักงานกองช่างหรือสามารถหาดูได้ตาม อินเตอร์เน็ต ตัวอย่างแบบบ้านที่หน่วยงานราชการมีไว้บริการ ดังนี้
          แบบบ้านเพื่อประชาชน
          โครงการแบบบ้านเพื่อประชาชน   (กรมโยธาธิการและผังเมือง www.dpt.go.th)
          แบบบ้านสานฝัน ของขวัญปีใหม่ คนไทยมีความสุข (กรมโยธาธิการและผังเมือง www.dpt.go.th)
          แบบบ้านผู้สูงอายุ "บ้านผู้สูงอายุที่ไม่ใช่บ้านผู้สูงอายุ"  (การเคหะแห่งชาติ www.nha.co.th)
          แบบบ้านผู้ประสบภัย (กรมโยธาธิการและผังเมือง www.dpt.go.th)
          แบบศาสนาสถาน (กรมโยธาธิการและผังเมือง www.dpt.go.th)
          แบบบ้านลอยน้ำ (กรมโยธาธิการและผังเมือง www.dpt.go.th)
     ถาม : การโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารทำได้หรือไม่
     ตอบ : การโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารทำได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าขั้นตอนการก่อสร้างของอาคารนั้นอยู่ในขั้นตอนใดประกอบด้วย ตามกรณีดังนี้
          กรณีที่ 1 การขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยที่ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารใดๆ ต้องเป็นกรณีใบอนุญาตก่อสร้างอาคารยังไม่สิ้นอายุจึงสามารถกระทำได้ แต่ผู้รับโอนใบอนุญาตจะต้องแนบหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับโอนเพิ่มเติมให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น เช่น หนังสือยินยอมของผู้ควบคุมงาน เป็นต้น และจะต้องปฎิบัติตามแบบแปลนและเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตตามใบอนุญาตนั้นทุกประการ
          กรณีที่ 2 การขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโดยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในบางส่วนแล้ว ให้ปฏิบัติ เช่นเดียวกับกรณีที่ 1 แต่หากพบการก่อสร้างอาคารผิดจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้อนุญาต หรือก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าของอาคารจะต้องแก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารก่อน จึงจะพิจารณาโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารนั้นได้
 
กองการศึกษา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง
     คำถาม : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล รับนักเรียนช่วงอายุกี่ปี
     คำตอบ : - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เตรียมอนุบาล รับนักเรียน ตั้งแต่อายุ 2 – 3 ปี
                    - โรงเรียน อนุบาล 1 – อนุบาล 3 รับนักเรียน ตั้งแต่อายุ 3 – 6 ปี
     คำถาม : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ใช้เอกสารอะไรบ้างในการสมัครเรียน
     คำตอบ : - สำเนาสูติบัตร 1 ฉบับ
                  - สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อเด็ก 1 ฉบับ
                  - สำเนาบัตรประชาชนบิดา 1 ฉบับ
                  - สำเนาบัตรประชาชนมารดา 1 ฉบับ
                  - สมุดบันทึกสุขภาพ หรือใบรับรองแพทย์
     คำถาม : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล มีรถรับส่งเด็กนักเรียนหรือไม่                 
     คำตอบ : มีรถรับส่งเด็กนักเรียน (สำหรับเด็กด้อยโอกาส)
     คำถาม : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล เปิด/ปิด กี่โมง
     คำตอบ : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล เปิดเวลา 7.30 น. / ปิดเวลา 16.30 น.